ลำดับและขั้นตอนงานแต่งภายใน 1 วัน หรือ แต่งเช้ากินเลี้ยงบ่าย
1.พิธีสงฆ์
2.พิธีขันหมาก
3.พิธีหมั้น
4.พิธีรับไหว้
5.พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
6.พิธีผูกแขน
การจัดงานแต่งงานมีลำดับขั้นตอนมากมาย แตกต่างกันไปตามแต่พื้นที่ ความเชื่อ และการปรับเปลี่ยนของเจ้าภาพ แต่จำปรับเปลี่ยนเช่นไร ก็ควรปรึกษาผู้รู้ก่อนนะคะ เพื่อป้องกันการผิดพลาด
สำหรับลำดับขั้นตอนต่อไปนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนงานแต่งแบบคร่าวๆ ที่นิยมใช้กันในเขตภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง
1. พิธีสงฆ์ จะเริ่มต้นในตอนเช้า ประมาณ 7.00 น. จะเริ่มต้นด้วยคู่บ่าวสาวจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ตักบาตรร่วมขัน ถวายเครื่องไทยธรรม เจิมหน้าผากบ่าวสาว พรมน้ำมนต์ (ย้ำขั้นตอนพิธีการต่างๆอาจเหมือนหรือต่างกัน) บางบ้านเชื่อว่าการจัดพิธีที่บ้าน ถือว่าเป็นการทำบุญบ้านร่วมด้วย เพื่อเสริมศิริมงคล หลังพิธีสงฆ์ เจ้าบ่าวจะออกไปจัดเตรียมขบวนขันหมาก ส่วนเจ้าสาวพักภายในห้องเพื่อรอเจ้าบ่าวไปรับออกมา(บางพื้นที่อาจมีการเซ่นไหว้ผีบ้านผีเรือนและเจ้าที่ ก่อนพิธีสงฆ์ โดยมีการตั้งโต๊ะเซ่นไหว้นอกบ้าน)
2.พิธีขันหมาก
ฝ่ายเจ้าสาวต้องเตรียม คนเชิญขันหมาก 1 คน คอยถือพานเชิญขันหมาก และต้องกล่าวคำเชิญขันหมากเข้าบ้าน (บางที่เตรียมคน ล้างเท้าเจ้าบ่าวก่อนขึ้นบ้านอีก 1 คน ) นอกจากนี้ต้องเตรีียมซองเงิน
ไว้สำหรับไถ่ขันหมาก อย่างน้อย 1 ซอง สำหรับพานขันหมากเอก ส่วนพานอื่นๆ ให้ใช้สบู่หรือของขวัญอื่นๆ ในการไถ่ นอกจากนี้ต้องเตรียมคนกั้น ประตูเงินประตูทอง อีกด้วย
ฝ่ายเจ้าบ่าว ต้องจัดเตรียมคนถือขันหมาก โบราณเชื่อว่าคนถือขันหมากควรเป็น สาวโสด หรือคู่แต่งงานไม่อย่าล้าง เตรียมซองใส่เงินสำหรับค่าผ่านประตู คนเชิญขันหมาก และคนล้างเท้า โดยให้เพื่อนเจ้าบ่าวเป็นผู้เก็บไว้
เริ่มต้นพิธี ขณะที่ขบวนขันหมากเดินทางเข้ามา พ่อแม่เจ้าสาวและเถ้าแก่ ควรนั่งเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อขบวนขันหมากเข้ามาแล้ว คนเชิญขันหมากนำ พ่อแม่จ้าบ่าวและเถ้าแก่เข้ามานั่งในพิธี เมื่อทั้งหมดนั่งประจำที่แล้ว ให้ทยอยนำพานขันหมากต่าง เข้ามาวางเรียง โดยเถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวส่งให้ฝ่ายเจ้าสาว จนครบถ้วน
ถ้าในพิธีมีการเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายาย คนทำพิธี (หมอทำพิธีแต่งงาน ) จะนำของเซ่นไหว้ มาทำพิธีเซ่นไหว้ก่อน ถ้ามีขันหมากโท พวกขนมต่างๆ จะนำออกไปจัดแบ่งให้ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้า ข้างละเท่าๆกันภายหลัง
หลังจากทำพิธีเซ่นไหว้ผีปู่ย่าตายายแล้ว ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เจรจาหมั้นหมาย จากนั้นฝ่ายเจ้าสาว เปิดพานขันหมากเอก และตรวจพานสินสอดทองหมั้น ต่อหน้าสักขีพยานทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเจ้าสาวนำเงินมาวางบนผ้าข้าวที่เตรียมไว้ โรยด้วยข้าวตอกดอกไม้ (บางที่จะโรยถั่วและงาด้วย)
3.พิธีหมั้น
เชิญเจ้าบ่าว เจ้าสาว นั่งประจำตำแหน่งให้เรียบร้อย เมื่อได้ฤกษ์ ให้เจ้าบ่าวสวมแหวานเจ้าสาว หรือจะแลกแหวนซึ่งกันและกัน อาจมีการเพิ่มกำไร สร้อยคอ ทั้งนี้แล้วแต่ตกลงกัน เสร็จเรียบร้อย
เจ้าบ่าวเจ้าสาว ไหว้ขอบคุณพ่อแม่ทั้งสองฝ่าย
4.พิธีรับไหว้
พิธีกรเชิญ พ่อแม่ทั้งสองฝ่าย และญาติผู้ใหญ่ นั่งประจำตำแหน่งที่เตรียมไหว้ จากนั้นเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะถือพานธูปเทียนแพเข้าไหว้ ผู้ใหญ่ โดยเริ่มจากพ่อแม่เจ้าบ่าว เจ้าสาว เพื่อเป็นการแนะนำตัว และฝากเนื้อฝากตัวของเจ้าบ่าวเจ้าสาว ในการนี้เจ้าภาพต้องเตรียมของมอบแก่ผู้ใหญ่ด้วย บางพื้นที่มีการผูกข้อมือร่วมด้วย พิธีการอาจทำก่อนการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ หรือหลังก้ได้ (จะมีหรือไม่มีพานธูปเทียนแพก็ได้)
แต่บางพื้นที่จะทำพิธีรับไหว้นี้พร้อมกับการหลั่งนำ้พระพุทธมนต์และการผูกแขน โดยขณะที่มีพิธีการหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และผูกแขนแล้วนั้น ให้จัดเตรียมของรับไหว้ผู้ใหญ่ไว้ด้านข้าง และมอบให้ภายหลังผู้ใหญ่หลั่งน้ำพระพุทธมนต์และผูกแขนเจ้าบ่าวเจ้าสาวแล้ว (ไม่ต้องมีพานธูปเทียนแพ)
5.พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์
ก่อนขึ้นตั่ง ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกราบพระรัตนตรัยก่อน จากนั้นขึ้นตั่ง โดยเจ้าบ่าวอยู่ซ้ายเจ้าสาวอยู่ขวา ให้ประธานในพิธี หรือพ่อแม่เจ้าบ่าวเจ้าสาว สวมมงคล และมาลัยให้เจ้าบ่าวเจ้าสาว ลำดับต่อไปเชิญผู้ใหญ่หลั่งน้ำสังข์ตามลำดับ
เมื่อเสร็จสิ้นแล้วให้ ผู้ใหญ่ทำการถอดมงคล (คนใส่มงคลและคนถอดควรเป็นคนเดียวกัน) เมื่อถอดมงคลแล้ว จะรวบมงคลไว้ด้วยกันและให้เจ้าบ่าวเก็บไว้ จากนั้นจะจับมือบ่าวสาวให้ลุกขึ้นจากตัุ่ง
เจ้าบ่าวเจ้าสาวกราบขอบคุณ เป็นอันเสร็จพิธี พิธีนี้ถือว่าเป็นการบอกว่าคู่บ่าวสาวเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามประเพณีไทยแล้ว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น