ขั้นตอนงานแต่งพื้นบ้านแบบโบราณ
งานแต่งงานทุกวันนี้ ลดทอนขั้นตอนๆต่างๆลงไปมาก แต่เมื่อเราตัดสินใจแต่งงาน และมีพิธีแต่งแล้ว ผู้เขียนก็คิดว่าเราควรให้ถูกขั้นตอนตามแบบโบราณ ซึ่งโบราณที่เค้าว่ากัน ก้แต่ละบ้านแต่ละที่ก้ต่างกัน จำๆกันมา ผู้เขียนว่าก้ไม่มีผิดและถูก แค่เพียงแต่ก่อนจัดงาน เจ้าภาพต้องคุยกันให้จบ ในแต่ละขั้นตอน ถ้าจะทำแบบใดก้ทำแบบนั้น เพื่อให้งานแต่งออกมาแบบราบรื่นนั่นเอง
สำหรับพิธีโบราณพื้นบ้านของนครสวรรค์ และใกล้เคียงจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ มีการไหว้ผีปู่ย่า ตายาย หรือบรรพบุรุษ โดยผู้ทำพิธี โดยใช้ของที่จัดมาพร้อมขันหมาก ส่วนใหญ่จะจัดคล้ายกัน คือ ไก่ หมู ห่อหมก ขนมจีน ขนมต้ม จันอับ ขนมปลา ข้าวเหนียวแดง ฯเมื่อเสร็จการไหว้ผีแล้ว ก้เป็นการเสี่ยงทาย ด้วยการให้บ่าวสาวจุดเทียนงานแต่ง ถ้าของใครยาวกว่า ก้จะเป็นผู้นำครอบครัว หรือคำทำนายอื่นๆ ตามความเชื่อแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีพิธีดื่มกินมะพร้าวอ่อน ซึ่งถือเป็นน้ำบริสุทธิ์ จากนั้นจึงเริ่มพิธีการ มอบสินสอด นับสินสอด และปิดท้ายด้วย คู่บ่าวสาว กราบไหว้ พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย 3 ครั้ง พ่อแม่บ่าวสาวให้พร ถือเป็นอันจบส่วนพิธี ลำดับต่อไปบ่าวสาว ขึ้นนั่งตั่งอีกครั้ง เพื่อให้ผู้ใหญ่ผูกแขน พร้อมกันนั้น บ่าวสาวก้ทำการขอบคุณ หรือมีของรับไหว้ เป็นของชำร่วย เช่น ผ้าเช็ดตัว ของรับไหว้ส่วนนี้จะแยกกับของชำร่วยงานเลี้ยงนะคะ[ บางคนเถียงว่าต้องมีพานธูปเทียนแพหรือไม่ อันนี้ ต้องบอกว่าแล้วแต่พื้นที่และการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายว่าจะมีด้วยหรือไม่ แต่ปกติการแต่งงานขอชาวนครสวรรค์ จะไม่ใช้ เพราะถือให้ของรับไหว้ตอนผูกแขนแล้ว]
ส่วนพิธีการที่เราเห็นในเมืองปัจจุบัน เหมือนจะตัดพิธีการไหว้ผีไปแล้ว เหลือไว้เพียง พิธีสั้นๆ ใช้ของประกอบไม่กี่อย่าง เช่น พานขันหมากเอก พานเชิญขันหมาก พานสินสอด พานธูปเทียนแพ พานกล้วย อ้อย ซึ่งถือว่าตัดออกไปเยอะมาก หรือบางส่วนที่จัดงานในโรงแรมก้จัดแยกไป โดยจัดของไหว้ผี ปู่ย่า ตายาย ไว้ที่แจ้ง ในบริเวณบ้านในช่วงเช้า ก่อนพิธีการต่างๆ ทำให้มนต์ขลังต่างๆในพิธีแต่งงานดูจะลดลง แต่ทั้งนี้ อาจจะเพราะความไม่สะดวกด้วยประการทั้งปวง ของคนรุ่นใหม่นั่นเอง. สุดท้ายแล้วใครจะทำพิธีแต่งงานอย่างไร ก้ขอให้เลือกทำที่บ่าวสาว สบายใจ และมีความสุขกับงานก้พอ เพื่อการเริ่มต้นชีวิตคู่ที่ดี มีรอยยิ้ม สมกับวันมงคล วันดีของบ่าวสาว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น