พิธีมงคลสมรส
แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1. วิวาหมงคล เป็นการทำพิธีมงคลกันที่บ้านของฝ่ายหญิง และเมื่อสมรสแล้วฝ่ายชายจะไปอยู่บ้านฝ่ายหญิง อยู่ร่วมกับพ่อตาแม่ยาย
2.อาวาหมงคล มื่อสมรสเป็นการทำพิธีสมรสที่บ้านของฝ่ายชาย และเมื่อสมรสแล้วฝ่ายหญิงจะไปอยู่บ้านฝ่ายชาย
พิธีมงคลสมรสแบบไทยที่นิยมทั่วไปมีดังนี้นะคะ
1.พิธีหมั้น มักจะทำก่อนวันแต่งแต่ในบางที่ยกขันหมากหมั้นมาหมั้นก่อนที่พระสงฆ์จะมา ส่วนใหญ่ไม่มีขันหมากหมั้น มีขันหมากแต่งเลย จะสวมแหวน สมเครื่องเพชร เครื่องทอง หลังจากเปิดขันหมากและโดยถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเปลือก หรือถ้ามีขันหมากหมั้นก้จะมีก่อนเป็นเดือนเป็นปี แต่ละคู่ไม่เหมือนกัน
2.พิธีสงฆ์ ส่วนใหญ่นิมนต์พระ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ พิธีสงฆ์ทำได้ทั้งเช้าและเพล ส่วนใหญ่นิยมเช้า บ่าวสาวควรตักบาตรขณะพระสงฆ์ถวายพรพระ(พาหุง) และขณะที่พระฉันให้จัดไหว้พระภูมิเจ้าที่
3.พิธีขันหมาก (แห่ขันหมาก) การจัดขันหมาก แต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับฐานะ ควรทำพิธีสงฆ์ก่อนแห่ขันหมาก ในโบราณจะนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นสุกดิบ(สวดมนต์เย็น) วันรุ่งขึ้นพระสงฆ์ถวายพรพระ ฉันภัตตาหาร
4.พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ (เซ่นผี) จะนำอาหารคาวหวาน หมากพลู ผ้าผ่อนแพรพัน ขนมจีน ห่อหมก ขนมต้ม เหล้าขาว มะพร้าวอ่อน ที่มากับขันหมาก มาเซ่นไหว้ผีบ้านผีเรือนและบรรพบุรุษ
5.พิธีไหว้ผู้ใหญ่ เจ้าบ่าวจะเตรียมผ้าไหว้หรือของอื่นๆแทนผ้าให้ผู้ใหญ่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ใช้บายศรี จะใช้ธูปเทียนกราบไหว้ ผู้ใหญ่จะใช้ด้ายผูกรับขวัญบ่าวสาว
6. พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ ตั่งจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าไม่สะดวกหันไปทิศอื่นก้ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก
วันนี้แค่นี้ก่อนนะคะ ข้อมูลดีๆแบบนี้ จะมีมาให้ติดตามกันอีกนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น